สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 25-31 พ.ค. 61



ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
 
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่
- โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี
- โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่)
- โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
- โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561
- โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ
- โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่

โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี
โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2560


 
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,661 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,531 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,138 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,094 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,150 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 35,870 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่)
สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,270 ดอลลาร์สหรัฐฯ (40,338 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,225 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39,040 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.67 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,298 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 449 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,261 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,341 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 80 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,817 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 436 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,895 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 78 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 433 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,753 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 434 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,831 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 78 บาท

หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.7621
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

ไทย
          นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย กล่าวว่า มีโอกาสเป็นไปได้ที่ราคาข้าวถุงหอมมะลิจะขยับขึ้นไปถึง 300 บาท/ถุง ผลพวงจากเวลานี้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิได้ขยับราคาขึ้นไปสูงถึง 1.8 หมื่นบาทต่อตัน ส่งผลให้ข้าวเปลือกหอมมะลิที่สีแปรเป็นข้าวสารแล้วมีต้นทุนที่สูงขึ้น โดยโรงสีแจ้งราคา ณ ปัจจุบัน (24 พฤษภาคม 2561) ข้าวสารหอมมะลิราคา 37 บาท/กิโลกรัม หรือ 3.7 หมื่นบาท/ตัน ทำให้ผู้ประกอบการข้าวถุงมีต้นทุนเพิ่มขึ้นจากปลายปีที่ผ่านมาราคาอยู่ที่ 25-27 บาท/กิโลกรัม หรือ 2.5-2.7 หมื่นบาท/ตัน ทำให้เวลานี้ผู้ประกอบการเริ่มทยอยขอปรับราคาข้าวหน้าถุงไปยังกรมการค้าภายใน
          “เมื่อปีที่แล้วราคาข้าวถุงหอมมะลิโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 200 บาทบวกลบ/ถุง 5 กิโลกรัม บางรายที่ทำโปรโมชั่นจะอยู่ที่ 180-190 บาท/ถุง แต่ปีนี้ราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 230 บาท/ถุง บางราย 235-250 บาท/ถุง ขึ้นอยู่กับต้นทุนและคุณภาพข้าวของแต่ละราย แต่โดยภาพรวมขึ้นมาประมาณ 30 บาท/ถุง หรือร้อยละ 15 หากคิดเป็นกิโลกรัมเฉลี่ยที่ 6 บาท/กิโลกรัม ซึ่งถือว่าขึ้นมาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับต้นทุนข้าวสารหอมมะลิที่ปรับขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 ที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับ”
          อย่างไรก็ตาม นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย ระบุว่า ผู้ประกอบการยังช่วยกันตรึงราคาโดยขยับขึ้นไม่มากเท่าต้นทุน เพราะด้านหนึ่งธุรกิจข้าวถุงมีการแข่งขันสูง มีผู้เล่นในตลาดเป็นร้อยแบรนด์ หากขึ้นราคาสูงมากกว่ารายอื่นจะเสียส่วนแบ่งตลาดและลูกค้า แต่ด้านหนึ่งคงลดการทำโปรโมชั่นลง เพื่อเพิ่มรายได้จากการขายมากขึ้น สำหรับราคาข้าวถุงที่สูงขึ้นดังกล่าว หากย้อนที่มาที่ไปมีส่วนสำคัญจากผลผลิตข้าวเปลือกหอมมะลิปีการผลิต 2560/61 ซึ่งเก็บเกี่ยวข่วงพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 ซึ่งโดยปกติแต่ละปีจะมีผลผลิตประมาณ 7-8 ล้านตันข้าวเปลือก (ประมาณ 2.8-3.2 ล้านตัน) แต่จากผลกระทบน้ำท่วมส่วนหนึ่ง มีโรคแมลง และข้าวไม่ติดดอก คาดผลผลิตจะลดลงไปร้อยละ 20-30 ขณะที่ความต้องการข้าวหอมมะลิในตลาดมีมาก ทั้งเพื่อผลิตข้าวถุงและเพื่อส่งออก ทำให้ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารหอมมะลิปรับตัวสูงขึ้นมาก ไม่ใช่แค่ข้าวถุงหอมมะลิที่มีการปรับราคา ข้าวขาว ข้าวหอมปทุมธานีก็มีการปรับราคาขึ้นตาม แต่ไม่มากเท่าข้าวหอมมะลิ เพราะข้าวชนิดอื่นในตลาดยังมีมากกว่าข้าวหอมมะลิ สำหรับโอกาสที่ข้าวถุงหอมมะลิจะขึ้นไปถึง 300 บาท/ถุงหรือไม่ ยังบอกไม่ได้ แต่มีโอกาสเป็นไปได้ คือ ตอนนี้ไม่มีใครรู้ว่าสต็อกข้าวหอมมะลิที่อยู่ในมือโรงสี ในยุ้งฉางของเกษตรกรบางส่วน รวมถึงสต็อกข้าวที่อยู่ในมือผู้ประกอบการข้าวถุงที่ต้องมีสต็อกหมุนเวียนเพื่อใช้ในการผลิตเดือนต่อเดือนจะมีรวมกันมากน้อยเพียงใด จะพอใช้หรือไม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องดีมานด์-ซัพพลาย” ขณะเดียวกันยังต้องรอดูผลผลิตข้าวหอมมะลินาปี ปีการผลิต 2561/62 ที่จะเริ่มเพาะปลูก และจะเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายนหรือในอีกประมาณ 6 เดือนข้างหน้า ว่าจะมีผลผลิตมากน้อยเพียงใด คาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ที่ 9.2 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตจำเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ หากมีข้าวออกมามากก็จะทำให้ราคาอ่อนตัวลง ต้นทุนการผลิตและราคาข้าวถุงก็จะลดลง
          นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย ยังกล่าวถึงตลาดข้าวถุงในประเทศว่าไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน แต่คาดว่าน่าจะใกล้ 3 หมื่นล้านบาท ปีนี้น่าจะมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท จากมูลค่าข้าวถุงปีนี้ปรับตัวสูงขึ้น แต่ด้านปริมาณการขายอาจลดลง ขณะที่ผลกำไรของผู้ประกอบการคงลดลงจากปีที่ผ่านมา เพราะไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้เท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและผลจากการแข่งขันที่สูงทำให้ขยับราคาไม่ได้มาก
          นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยในงานสัมมนาครบรอบ 100 ปี สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยว่า ทิศทางการส่งออกข้าวในปี 2561 นี้ ไทยจะสามารถทำได้ตามเป้าหมาย 10 ล้านตัน โดยในช่วง 5 เดือนแรก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-15 พฤษภาคม 2561 ไทยส่งออกข้าวแล้ว 4.21 ล้านตัน เป็นอันดับสองรองจากอินเดียที่ส่งออกได้ 4.77 ล้านตัน ส่วนราคาข้าวในขณะนี้ ปรับตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิอยู่ที่ตันละ 1,250 ดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงกับปี 2551 ที่ราคาส่งออกข้าวหอมมะลิเฉลี่ยตันละ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นราคาข้าวเปลือก 1.7-1.8 หมื่นบาท ใกล้เคียงกับราคาในช่วงที่มีโครงการรับจำนำข้าว เพราะความต้องการข้าวในตลาดโลกมีมาก ขณะที่ผลผลิตมีน้อยลง "มีแนวโน้มที่ราคาข้าวหอมมะลิไทยจะปรับขึ้นไปถึงตันละ 1,300 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงสั้นๆ 2-3 เดือนนี้ ที่ตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการสูง และผลผลิตน้อย เนื่องจากบางประเทศประสบภัยแล้ง ส่วนข้าวขาวก็ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ตันละ 430-435 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ปัญหาต้นทุนราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทบเพียงเล็กน้อย และเชื่อเป็นระยะสั้นเท่านั้น" พร้อมทั้งกล่าวว่า สมาคมฯ มีแผนจะทำงานร่วมกับกรมการค้าภายในจัดทำโครงการพลังประชารัฐพัฒนาข้าวไทย โดยเดือนมิถุนายนนี้จะลงพื้นที่สำรวจ 8 จังหวัดในภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม เป็นต้น เพื่อนำร่องปลูกข้าวขาวพื้นนิ่ม เช่น พันธุ์พิษณุโลก 80, กข 21, กข 71 และ กข 77 เพราะเป็นข้าวที่ได้รับความนิยมในตลาดจีนปีละ 7-8 ล้านตัน แต่ไทยไม่เคยมีการปลูก ทำให้เวียดนามได้เปรียบส่งออกข้าวชนิดนี้ ไทยจึงควรเร่งพัฒนาพันธุ์ เพื่อขยายตลาดส่งออกข้าวไปยังกลุ่มข้าวพื้นนิ่มให้ได้เพิ่มขึ้น
         
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ, หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

 
ฟิลิปปินส์
          รัฐบาลฟิลิปปินส์ไฟเขียวให้ผู้นำเข้าเอกชนสามารถนำเข้าข้าวจำนวน 805,200 ตัน ภายใต้การกำหนดโควตาปริมาณนำเข้า แบบปริมาณการนำเข้าขั้นต่ำ (Minimum Access Volume: MAV) เพื่อเพิ่มระดับ Supply และลดระดับราคาข้าวสารในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น และเมื่อนำปริมาณการนำเข้าของสำนักงานอาหารแห่งชาติ (National Food Authority: NFA) ที่ได้เปิดประมูลไปก่อนหน้าในปริมาณ 500,000 ตัน (จาก G to G จำนวน 250,000 ตัน และจาก G to P จำนวน 250,000 ตัน) ทำให้ในปีนี้ฟิลิปปินส์จะมีปริมาณนำเข้าข้าวกว่า 1.3 ล้านตัน ทั้งนี้ เป้าหมายในการนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประชากรในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องมากจากระดับสต็อกข้าวของ NFA ที่ลดลง ทำให้ข้าวสารราคาถูกหายไปจากท้องตลาด ราคาข้าวสารที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราเฟ้อในประเทศสูงขึ้น ซึ่งในเดือนเมษายนที่ผ่านมาระดับเงินเฟ้อในประเทศเป็นระดับเงินเฟ้อที่สูงที่สุดสุดในรอบ 5 ปี
          จากแนวทางการดำเนินการตามการนำเข้า แบบปริมาณการนำเข้าขั้นต่ำ (Minimum Access Volume: MAV) ผู้นำเข้าสามารถนำเข้าข้าวขาว 25 % หรือข้าวสารที่คุณภาพดีกว่าขึ้นไป โดยจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 35 จากปริมาณการนำเข้าทั้งหมด 805,200 ตัน จะต้องส่งมอบให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
          สำหรับประเทศที่ได้รับโควตาเฉพาะประเทศ (Country Specific Quota: CSQ) ได้แก่ เวียดนาม และไทยในจำนวนประเทศละ 293,100 ตัน นอกจากนี้ ผู้นำเข้าสามารถนำเข้าข้าวจากจีน อินเดีย และปากีสถานได้ประเทศละไม่เกิน 50,000 ตัน ออสเตรเลียไม่เกิน 15,000 ตัน เอกวาดอร์ไม่เกิน 4,000 ตัน และประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุข้างต้นอีกไม่เกิน 50,000 ตัน
         
ที่มา : รอยเตอร์

ฮ่องกง
          ศุลกากรฮ่องกงกวาดล้างแหล่งปลอมปนข้าวหอมมะลิไทย พบข้าวปลอม 2.26 หมื่นกิโลกรัม มูลค่าเสียหาย 73 ล้านบาท
          รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ศุลกากรฮ่องกงได้แถลงผลการจับกุมแหล่งปลอมปนข้าวหอมมะลิไทยจำนวน 2.26 หมื่นกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 17.8 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือประมาณ 73 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการจับกุมแหล่งบรรจุข้าวปลอมปนครั้งใหญ่สุดในรอบ 4 ปี หลังจากที่ข้าวหอมมะลิไทยมีราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา โดยคาดว่าข้าวปลอมดังกล่าวสามารถทำกำไรมากกว่า 100 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อถุง 25 กิโลกรัม
          ทั้งนี้ การจับกุมดังกล่าวเกิดขึ้นหลังศุลกากรฮ่องกงได้เข้ากวาดล้างแหล่งบรรจุข้าวปลอมปนในเขต Sun Po Kong ย่านเกาลูน พบเครื่องบรรจุข้าว จำนวน 2 เครื่อง ข้าวสารจากเวียดนามและกัมพูชา จำนวน 1.5 หมื่นกิโลกรัม ข้าวเจ้า จำนวน 6,000 กิโลกรัม และข้าวหอมมะลิ จำนวน 1,600 กิโลกรัม รอการผสมและบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ปลอม(Fake Packaging) และบรรจุภัณฑ์เก่า (Re-used Packaging) จำนวนรวมกว่า 7,000 ถุง โดยมีแบรนด์บรรจุภัณฑ์ของไทยที่ได้รับ ความเสียหาย ได้แก่ Golden Phoenix, Qing Ling Zhi, Golden Vital King และ Kim Kia Ta Thai Rice ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับ ความนิยม สำหรับตลาดข้าวในกลุ่มร้านอาหารของฮ่องกง
          "โรงงานที่ถูกตรวจสอบพบว่าเปิดมาประมาณ 3 เดือน เพื่อบรรจุข้าวใส่ถุงแบรนด์ต่างๆ จำหน่าย โดยการนำข้าวมาผสมเพื่อจำหน่ายแก่ร้านอาหารในฮ่องกงมากกว่า 100 แห่ง ทำให้ต้นทุนถูกกว่าสินค้าปกติมากกว่าครึ่ง" รายงานข่าวระบุ
          อย่างไรก็ตาม สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ฮ่องกง ระบุว่า ในปีที่ผ่านมาผลผลิตข้าวหอมมะลิไทยมีจำนวนลดลง ทำให้ราคาข้าวหอมมะลิพุ่งสูงขึ้น จนเป็นสาเหตุหนึ่งให้กลุ่มพ่อค้าฉวยโอกาสทำข้าวปลอมออกขาย ซึ่ง สคต. ฮ่องกงเตรียมจัดการแถลงข่าวร่วมกับผู้นำเข้าข้าวไทยที่เสียหายในครั้งนี้ เพื่อแนะนำข้อสังเกตคุณลักษณะของข้าวหอมมะลิแท้ๆ จากไทย ทั้งขนาดความยาวของเมล็ดข้าวและการสังเกตเลขประจำตัวผู้ผลิต วันผลิต วันหมดอายุสินค้าที่บรรจุภัณฑ์
         
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์


 
ราคาขายส่งตลาด กทม.

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.64 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.63 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.57 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.62 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.83 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.76 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 348.50 ดอลลาร์สหรัฐ (11,069 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 341.80 ดอลลาร์สหรัฐ (10,893 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.96 และเพิ่มขึ้น ในรูปของเงินบาทตันละ 176.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 398.35 เซนต์ (5,048 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 404.44 เซนต์ (5,144 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 96.00 บาท

 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน
พบว่าพื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64, 10.69 และ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.35 ล้านตัน (ร้อยละ 4.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – เมษายน 2561) ปริมาณ 22.65 ล้านตัน (ร้อยละ 83.16 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์สูง ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์สูงด้วยเช่นกัน
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.55 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.56 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.39    
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.93 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.85 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.37
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.20 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.65 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 238 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,559 บาท ราคาลดลงในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 185 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 553 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 17,564 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 60 บาท

 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.506 ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.256  ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.357 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.231 ล้านตัน ของเดือนเมษายน 2561 คิดเป็นร้อยละ 10.98  และร้อยละ 10.82 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.38 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 3.17 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.62                                                  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 22.25 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 20.70 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.49    
    
2.  ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนสิงหาคม 2561 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,418 ริงกิตต่อตัน (607.54 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 1.5 ซึ่งราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 2,408 ริงกิตต่อตัน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา เนื่องจากการลดลงของราคาน้ำมันดิบที่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันปาล์มซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซลราคาน้ำมันลดลงร้อยละ 2 และคาดว่าผู้ผลิตรายใหญ่อันดับสามของโลกจะผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นคือ รัฐเซีย สหรัฐฯ และซาอุอารเบีย ประกอบกับค่าเงินริงกิตของมาเลเซียอ่อนค่าลงและการเพิ่มขึ้นของน้ำมันถั่วเหลืองส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวลดลงร้อยละ 1.9 
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,440.52 ดอลลาร์มาเลเซีย  (19.92 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,446.55 ดอลลาร์มาเลเซีย  (20.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.25        
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 665.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (21.41 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 669.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (21.61 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.62    
 
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน


อ้อยและน้ำตาล 
 
1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและ     การผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 จนถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 134.59 ล้านตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 14.65 ล้านตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 10.68 ล้านตัน และน้ำตาลทรายขาว 3.97 ล้านตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.48 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 108.86 กก.ต่อตันอ้อย
                               
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ


ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.80 บาท ทรงตัวท่าดับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาถั่วเหลือง ณ ตลาดชิคาโก ( ณ 1 มิย 61) ลดลง  3-1 ​​/ 2 เซนต์ ปิดที่ 10.19-1.2 เหรียญต่อบุชเชล ซึ่งราคาถั่วเหลืองปรับตัวลดลงหลังจากที่สหรัฐฯประกาศกำหนดอัตราภาษีอากรนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากกแคนาดาเม็กซิโกและสหภาพยุโรป โดยในเดือนพฤษภาคมราคาถั่วเหลืองปรับตัวลดลงเฉลี่ย 29 เซนต์ หรือร้อยละ2.7 จากเดือนที่ผ่านมา
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,028.30 เซนต์ (12.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,025.76 เซนต์ (12.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.25
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 378.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.17บาท/กก.)  ลดลงจากตันละ 378.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.22 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.03
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.29 เซนต์ (22.20 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 31.46 เซนต์ (22.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.54

 


ยางพารา
 
ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 48.10 บาท/กิโลกรัม

1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.56 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.55 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.17 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.06 บาท เพิ่มขึ้นจาก 46.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.55 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.18
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.56 บาท เพิ่มขึ้นจาก 46.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.55 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.20
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.57 บาท เพิ่มขึ้นจาก 21.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.29 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.36
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.20 บาท เพิ่มขึ้นจาก 18.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.62 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.34
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.14 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.46 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.27

2. ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนมิถุนายน 2561
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1) ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.48 บาท ลดลงจาก 57.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.83 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.46
2) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.33 บาท ลดลงจาก 56.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.83 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.49
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.61 บาท ลดลงจาก 47.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.40 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.85
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.95 บาท เพิ่มขึ้นจาก 39.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.10 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25
ณ ท่าเรือสงขลา 
1) ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.23 บาท ลดลงจาก 57.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.83 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.46
2) ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.08 บาท ลดลงจาก 55.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.83 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.49
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.36 บาท ลดลงจาก 46.76 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.40 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.85
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.70 บาท เพิ่มขึ้นจาก 39.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.10 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25
 
3. ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.45 เซนต์สหรัฐฯ (51.92 บาท) ลดลงจาก 166.26 เซนต์สหรัฐฯ (52.99 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 2.81 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 1.69
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.64 เยน (52.10 บาท) ลดลงจาก 184.78 เยน (52.80 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 4.14 เยน หรือลดลงร้อยละ 2.24

 

 
สับปะรด
ผลผลิต เพิ่มขึ้น
ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดเดือนพฤษภาคม2561 ประมาณ  0.318 ล้านตัน หรือร้อยละ 14.15 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.248 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.277 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 14.80 และเพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.254 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 25.19
การส่งออก ลดลง
ปี 2561 (มกราคม-เมษายน) มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 0.582 ล้านตันสด ลดลงจากปริมาณ 0.703 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2560 หรือลดลงร้อยละ 17.21 โดยเดือนเมษายนส่งออกปริมาณ 0.124 ล้านต้นสด ลดลงจาก 0.151 ล้านตันสด ร้อยละ 17.88 และลดลงจาก 0.152 ล้านตันสด ของเดือนที่ผ่านมาและในช่วงเดียวกันของปี 2560 ร้อยละ 18.42

 
ราคา ลดลง
ช่วงนี้เป็นช่วงผลผลิตสับปะรดปีออกสู่ตลาด โดยมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณวันละ 10,000 - 12,000 ตัน ขณะที่ปัจจุบันความต้องการวัตถุดิบของโรงงานมีประมาณ วันละ 9,000 - 10,000 ตัน ทำให้โรงงานแปรรูปปรับราคารับซื้อลดลง โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ ดังนี้
- สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 2.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.41 และลดลงจากกิโลกรัมละ 4.57 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 54.04           
- สับปะรดบริโภคกิโลกรัมละ 6.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.72 และลดลงจากกิโลกรัมละ 10.48 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 39.88

 

 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
                                                                                                                                                                                                                                                                                                     
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 786.25 ดอลลาร์สหรัฐ (24.97 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 782.80 ดอลลาร์สหรัฐ (24.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 722.50 ดอลลาร์สหรัฐ (22.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 719.80 ดอลลาร์สหรัฐ (22.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 532.75 ดอลลาร์สหรัฐ (16.92 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 530.40 ดอลลาร์สหรัฐ (16.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 405.75 ดอลลาร์สหรัฐ (12.89 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 404.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 811.50 ดอลลาร์สหรัฐ (25.77 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 808.20 ดอลลาร์สหรัฐ (25.76 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 


ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ ดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.36 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.51
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด  สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.72 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.12
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
 


ฝ้าย
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 91.45 เซนต์ (กิโลกรัมละ 64.90 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 87.35 เซนต์ (กิโลกรัมละ 62.21 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.69 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.69 บาท
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,658 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,653 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 0.30
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,275 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา      
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,141 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,126 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 1.33

 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
          สัปดาห์นี้สถานการณ์ตลาดสุกร ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝนเริ่มมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติออกสู่ตลาด ทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรมีไม่มากนัก ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มโน้มลดลง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
          สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  56.33  บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.49  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.14 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.18 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 56.97 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.56 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 58 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
          ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคไก่เนื้ออ่อนตัวลง เพราะเริ่มมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติออกสู่ตลาดมากขึ้น   แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.66  บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.17  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.45  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.03 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
          สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงและสอดรับกับความต้องการบริโภค   แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 279 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 278 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 278 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ  18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
         ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 325 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 327  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.61 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 290 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  349 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
         ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ   
         ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.25 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.15 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.42 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ  92.59 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 99.56 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
         
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 72.59 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.99 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา 
 


 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต           
          ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 25 –31 พฤษภาคม 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ  
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.97 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 41.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.23 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.23 บาท ราคาทรงตัวท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
 สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ121.45 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.28 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ  119.17บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.17 บาท
 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.95 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.08 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 165.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 181.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 16.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00  บาท  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 25 – 31 พ.ค. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา